ยาผงจินดามณี (ยาผีบอก)

!! อาบน้ำร้อนมาก่อนก็ไม่ช่วย !! ยาผงจินดามณี ชื่อขลังดี แต่ชีวีไม่ปลอดภัยยยยยย

สร้างเมื่อ 4 years ago 13803



.
ไม่กี่วันมานี้แอดตาไวได้ยินชื่อ "ยาผงจินดามณี (ยาผีบอก)" กลับมาเป็นข่าวอีกครั้งนึง เนื้อข่าวบอกว่า พบซองยาตั้งอยู่ข้างศพผู้เสียชีวิตรายหนึ่ง ซึ่งคาดว่าเสียชีวิตจากโรคประจำตัวนี่แหละค่ะ
.


อันที่จริงเราๆ ท่านๆ ฟังชื่อ "ยาผีบอก" หรือได้ยินข่าวสารมาบ้างก็คงไม่กล้ารับประทานแล้วใช่มั๊ยคะ แต่เชื่อมั๊ยว่า ยาตัวนี้ยังคงใช้กันในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือ คนมีโรคเรือรัง ที่เค้าต้องการที่พึ่งอื่นๆ หรือได้รับคำบอกเล่าสรรพคุณผ่านคนใกล้ตัว เรียกว่าเข้าถึงง่ายกว่าข่าวเตือนภัยจากทางการอีกค่ะ ถึงได้จั่วหัวว่า !!อาบน้ำร้อนมาก่อนก็ไม่ช่วยไงคะ!! แอดไม่ได้ลอกเลียนคำจากลุงคนไหนมาน้า
.


!อ่ะ เข้าเรื่อง!
ยาผงจินดามณี (ยาผีบอก) ชื่อตามข้างฉลาก ดูภาพที่แอดนำมาประกอบได้เลย เมื่อปี 2560 เคยมีตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีส่วนผสมของสารเตียรอยด์ สารตัวนี้คุณสมบัติลดปวดอักเสบได้ดีเลยค่ะ ใครทานแรกๆก็หายปวดหายเมื่อยได้ชะงัดนัก แต่ผลเสียของมันสำหระับคนที่ทานๆไปแบบไม่รู้ตัวสิคะ กระเพาะทะลุ ภูมิคุ้มกันต่ำ และผลเสียตามมาอีกเยอะ
.


ตอนนี้สิ่งที่แอดตาไวหวังไว้ก็คงให้ลูกหลานๆ ช่วยกันดูแลผู้สูงอายุในบ้านค่ะ หากพบซองยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมที่ไม่น่าไว้ใจ ช่วยแนะนำและตรวจสอบให้แน่ใจก่อนดีกว่านะคะ


ช่องทางตรวจสอบปัจจุบันมีหลายช่องทางค่ะ เช่น
> ผ่าน อย. https://oryor.com/oryor2015/check_product.php
> ผ่านหน่วยวิจัยตาไว
https://tawaiforhealth.org/check-products และเรายังมีบริการให้คำแนะนำหรือตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่มั่นใจผ่าน inbox เพจ หรือ line@ ด้วยนะคะ

สุ่มโพส

หน่วยวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วม ประชุมเชิงปฏิบัติการระบบ TaWai for Health V.3 และ TaWai Chatbot สำหรับผู้ดูแลระบบระดับอำเภอ ซึ่งจัดโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

รายละเอียด...

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 8.30 น. – 12.00 น. หน่วยพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสตูล จัดอบรมโครงการวิจัยเรื่อง การจัดการองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับการเฝ้าระวัง และจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและไม่ปลอดภัยในชุมชนผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลตาไวฟอร์เฮลท์

รายละเอียด...

หน่วยวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมประชุมกับเครือข่าย กพย.ภาคใต้

รายละเอียด...