ผู้บริโภคยุคใหม่ VS ผู้ประกอบการที่รู้จริงและเชื่อถือได้

ผู้ประกอบการขายได้อย่างสบายใจ ผู้บริโภคได้สินค้าปลอดภัย ไม่ถูกหลอกลวง

สร้างเมื่อ 4 years ago 3009


.............จะดีกว่ามั๊ยถ้า.............
????‍????ผู้ประกอบการจะขายได้อย่างสบายใจ
????‍????‍????ผู้บริโภคได้สินค้าปลอดภัย ไม่ถูกหลอกลวง
.
วันนี้หน่วยวิจัยตาไวจึงหยิบประเด็นข่าวร้อน
และจัดทำเป็น 4 แนวทางดีๆ มาแบ่งปันครับ


1⃣ เข้าใจ- พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคือ "พรบ.อาหาร พ.ศ.2522" ควรศึกษาหรือขอคำปรึกษาผู้รู้ให้เข้าใจสักนิดจะได้ไม่ผิดกฎหมาย
2⃣ สอบถาม- ผู้ประกอบการสามารถขอคำปรึกษาจาก “สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด” ในจังหวัดของท่าน เพื่อแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง และสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจมีแนวทางที่ซับซ้อนกว่าที่คิด จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรจะให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
3⃣ หมั่นตรวจสอบ- หากมีการตรวจพบสารปนเปื้อนในภายหลัง ก็มีความผิดเช่นกัน จึงควรเลือกและควบคุมการผลิตให้มีมาตรฐาน เป็นไปตามที่ขออนุญาต
4⃣ มองหาตัวช่วย- หากไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ผมมีช่องทางด่วนมาแนะนำตามนี้เลย
☑คู่มือสำหรับผู้ประกอบการ
☑ ช่องทางตรวจสอบเลขสารบบ สำหรับผู้บริโภค https://tawaiforhealth.org/check-products
☑ หากมีปัญหาด้านการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถปรึกษาหน่วยวิจัยตาไวมาทาง inbox ได้เลย (คำแนะนำเบื้องต้น)
.

สุ่มโพส

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส แจ้ง เตือนภัยเร่งด่วน “KOKANDO ดีท็อกซ์ญี่ปุ่น” เสี่ยงตาย

รายละเอียด...

วันที่ 9 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. หน่วยพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ TaWai for Health คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง จัดอบรมโครงการ การจัดการองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและไม่ปลอดภัยในชุมชน ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลตาไวฟอร์เฮลท์ ให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน จำนวน 62 คน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

รายละเอียด...

วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. หน่วยพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ TaWai for Health คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสํานักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชสาธารณสุข จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ภาคเหนือในการเฝ้าระวังและร่วมแก้ไขปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดเกินจริงทางสื่อออนไลน์ ผ่านโปรแกรมตาไวฟอร์เฮลท์ ปี พ.ศ. 2567 ให้แก่นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 62 คน

รายละเอียด...